การอภิปราย (discussion) ดูเหมือนว่าจะเป็นการประกาศข้อมูล แต่ความจริงแล้วคำนี้มีความหมายลึกซึ้งกว่านั้น การอภิปรายผลนั้น จะต้องผ่านการประเมินทางการวิจัยมาก่อน เพื่อให้ทราบว่าผลวิจัยนี้มีความถูกต้องอย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งเอาไว้ ก่อนที่จะนำไปเสนอข้อมูลต่อบุคคล หรือที่ประชุม ดังนั้นการอภิปรายผลนั้น มีความสำคัญอย่างมากที่จะทำให้งานวิจัยสมบูรณ์ มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงต้องทำการอภิปรายผลทุกครั้งที่ทำการวิจัย
การแบ่งระดับการอภิปรายผล
1.ระดับเริ่มต้น เป็นการนำข้อมูลผลการวิจัย ร่วมกับแนวคิด หรือ ทฤษฎีต่างๆ มาใช้ในการอภิปรายผล
2.ระดับปานกลาง เป็นการต่อยอดจาก “ระดับเริ่มต้น” ด้วยการนำเสนอเนื้อหาที่มีความละเอียดมากขึ้น เช่น ปัญหาในการวิจัย จุดประสงค์ของการวิจัย ฯลฯ
3.ระดับสูง เป็นการอภิปรายผลแบบละเอียดทุกขั้นตอน ด้วยการนำเสนอวิธีที่ใช้ในการทำวิจัยเป็นลำดับ
ลักษณะของการเขียนอภิปรายผล
การเขียนอภิปรายผลที่ดี จะต้องเลือกประเด็นที่น่าสนใจ มีความสำคัญมากที่สุด ถ้าจะให้มีความน่าเชื่อถือจำเป็นต้องมีงานอ้างอิงอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 คน เมื่อมีงานอ้างอิงที่มีความสอดคล้องกันมากเท่าไหร่ งานอภิปรายผลก็จะดูน่าเชื่อถือมันขึ้นเท่านั้น โดยการเขียนอภิปรายผลมีองค์ประกอบหลัก 4 อย่าง ได้แก่
1.หัวข้อในการศึกษา ผู้เขียนจะต้องบอกให้ผู้ทราบรู้ว่ากำลังวิจัยในเรื่องอะไร บอกถึงเป้าหมาย วัตถุประสงค์
2.ผลลัพธ์ รายงานผลของการวิจัยว่าประสบความสำเร็จอย่างไร
3.ปัญหาที่พบ ชี้แจ้งปัญหาที่พบ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาและวิจัยต่อไป
4.ความสอดคล้อง ยืนยันผลของงานวิจัยว่ามีความสอดคล้องกับงานของผู้อื่นอย่างไร
หลักการเขียนอภิปรายผลที่ดี
1.เลือกแหล่งอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ คุณภาพการอ้างอิงมีความสำคัญเนื่องจากใช้เพื่อสนับสนุนผลลัพธ์ที่นำเสนอในต้นฉบับ เมื่อไม่มีการอ้างถึงข้อมูลหรือแหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือ ข้อสรุปของผู้เขียนก็ไม่มีความน่าเชื่อถือ ผู้เขียนควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าการอ้างอิงมาจากวรรณกรรมที่ตีพิมพ์ล่าสุด และมีอายุไม่เก่าเกินไปกว่า 20 ปี ควรให้ความสนใจกับความวารสาร เนื่องจากวารสารบางฉบับมักจะอยู่ในช่วงระยะเวลา 5 ถึง 10 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างคือการอ้างอิงที่เหมาะสม ควรจะหาแหล่งอ้างอิงที่มีความสอดคล้องกันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
2.ควรกล่าวถึงข้อจำกัดในการวิจัย หลายคนเลือกที่จะเมินเฉยที่จะพูดถึงข้อกำจัดเหล่านี้ มันเป็นเรื่องธรรมดาที่นักวิจัยไม่ค่อยอยากจะโฟกัสตรงจุดนี้เท่าไหร่นัก ยกตัวอย่างเช่นคุณกำลังทำการศึกษาอยู่เรื่องหนึ่ง แต่มีอาสาสมัครเข้าร่วมน้อยเหลือเกิน มันเป็นเรื่องที่ฉลาดที่จะกล่าวถึงสาเหตุนี้ ว่าทำไมอาสาสมัครถึงน้อย
3.ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ให้ความสนใจที่เหมาะสมสำหรับผลลัพธ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคำถามการวิจัยของคุณโดยไม่คำนึงว่าการค้นพบจะมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่
4.แสดงให้เห็นว่าผลการศึกษาของคุณมีข้อสรุปอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร และส่งผลอย่างไรต่อความเข้าใจของเราต่อปัญหา
5.อย่าลืมสร้างกำแพงปกป้องผลลัทธ์ของคุณ ลองทำสองวิธีนี้ดู คือ อธิบายความถูกต้องของคำตอบของคุณ พร้อมกับบอกถึงข้อบกพร่องของคำตอบผู้อื่น ด้วยวิธีนี้จะทำให้มุมมองของคุณน่าเชื่อถือมากขึ้น
6.ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีข้อมูลที่ขัดแย้งกันเองในงานอภิปรายผล สร้างจุดในการแสดงความเห็น ประเมินผลคำอธิบายที่ขัดแย้งกันของผลลัพธ์ของคุณ นี่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเอาชนะผู้อ่าน ทำให้พวกเขาเห็นอกเห็นใจต่อความพยายามในการศึกษาของคุณ
7.เริ่มต้นด้วยการเขียนคำถามการวิจัย และตั้งสมมติฐานใหม่อีกครั้ง
8.ในบันทึกย่อสุดท้ายให้เขียนรวบรวมทุกสิ่งที่เกี่ยวข้อง แต่ให้อยู่ในใจความที่สั้น กระชับ และตรงประเด็น