การสัมมนา คือ การประชุมตามหัวข้อที่ได้วางกำหนดเอาไว้ เป็นการแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งโดยเฉพาะ โดยผู้เข้าร่วมการสัมมนาจะร่วมกันอภิปรายอย่างอิสรเสรี ช่วยกันคิดเพื่อหาข้อสรุป รวมทั้งช่วยกันเสนอแนะแนวทางแก้ไขในปัญหานั้น
การอบรมสัมมนาวิชาชีพในประเทศไทย
CPD คือ การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ ซึ่งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพมีจุดถุประสงค์ คือ ให้ผู้ประกอบวิชาชีพนั้นมีการพัฒนาความรู้วิชาชีพในสาขาของตน อีกทั้งยังเป็นการรักษามาตรฐานในการวิชาชีพนั้นๆอีกด้วย
ทุกวันนี้ประเทศไทยมีหลายสภาวิชาชีพซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์ของ CPD เช่น สภาสถาปนิก หรือในส่วนของผู้ทำบัญชี โดยในปัจจุบันได้มีประกาศในเรื่องของ การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการรวมทั้งระยะเวลาในการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง
ยกตัวอย่างเช่น ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 15
หลักเกณฑ์และวิธีการอันเกี่ยวกับการเข้ารับการฝึกอบรม หรือเข้าร่วมสัมมนา เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ.2550
โดยเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ รวมทั้งวิธีการเข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมสัมมนา เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชี อนุญาตให้ปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยไม่จำกัดความรู้ทางด้านการบัญชี เท่านั้น แต่ควรมีความรู้ที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพบัญชีด้วย พราะฉะนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเข้ารับการฝึกอบรม เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ อย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ดังนี้
ผู้ทำบัญชี
– ต้องเข้ารับการอบรมไม่ต่ำกว่า ปีละ 12 ชั่วโมง ต้องมีกิจกรรมอันมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบัญชีไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
– ผู้ทำบัญชีต้องแจ้งชั่วโมงการอบรม ต่อสภาวิชาชีพ เริ่มจากวันที่อบรมจนถึงวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป
– รายละเอียดประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หัวข้อการกำหนดคุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ.2557 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2557
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต – CPA
– CPA ต้องเข้ารับการอบรม ปีล่ะ 18 ชั่วโมง และต้องเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชีหรือการสอบบัญชีไม่ต่ำกว่า 9 ชั่วโมง
– CPA แจ้งชั่วโมงอบรมต่อสภาวิชาชีพบัญชีภายใน วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี
– รายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติมตามข้อบังคับ อันว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีเข้ารับการฝึกอบรม หรือเข้าร่วมประชุมของผู้สอบบัญชี
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร – TA
– TA ต้องเข้ารับการอบรม ปีล่ะ 12 ชั่วโมง โดยมีเนื้อหาเป็นจำนวน 4 วิชา ได้แก่
– ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ชั่วโมง
– ภาษีมูลค่าเพิ่ม 3 ชั่วโมง
– ภาษีธุรกิจเฉพาะ , ภาษีเงิน ณ ที่จ่าย , กฎหมายระเบียบข้อบังคับอื่นๆ 3 ชั่วโมง
– ความรู้อื่นที่เกี่ยวกับวิชาชีพผู้สอบบัญชีภาษีอากร 3 ชั่วโมง
– TA สามารถยื่นหลักฐานการอบรม ต่อกรมสรรพากร ได้ตามรอบในการสิ้นสุดของใบอนุญาตแต่ละรุ่น